คำศัพท์
|
ความหมาย
|
๑.กรมท่าซ้าย
|
กรมท่า หมายถึง ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งสังกัดกรมพระคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับต่างประเทศและปกครองเมืองท่า
|
๒.ครึ
|
เก่า ล้าสมัย
|
๓.คลุมถุงชน
|
ลักษณะการแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดการให้โดยที่เจ้าตัวไม่รู้จักคุ้นเคยหรือรักกันมาก่อน
|
๔.เดินเข้าท้ายครัว
|
สำนวนว่า เข้าท้ายครัว โดยทั่วไปหมายความว่า เข้าทางภรรยา ในที่นี้หมายถึงใช้ความ รู้จักคุ้นเคยเป็นการส่วนตัวเป็นเครื่องให้ได้งานทำ
|
๕.เรี่ยม
|
สะอาดหมดจน เอี่ยมอ่อง วิเศษ ดีเยี่ยม
|
๖.หมอบราบ
|
ยอมราบโดยไม่ขัดขืน
|
๗.หอยจุ๊บแจง
|
ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยว เปลือกผิวขรุขระ รูปร่างค่อนข้างยาง ปลายแหลม สีเทาอมดำ หอยจุ๊บแจงจะอ้าฝาเปิดปากในน้ำนิ่ง แต่เมื่อสิ่งใดมากระทบ ก็จะปิดฝาหอยซ่นตัวทันที ในที่นี้หมายถึง ผู้หญิงที่ขี้อาย ไม่เข้าสังคม
|
๕.หัวเมือง
|
ต่างจังหวัด
|
๖.หัวนอก
|
คนที่นิยมแบบฝรั่ง มีความคิดแบบฝรั่ง
|
๑๐.หลวง
|
บรรดาศักดิ์ข้าราชการที่สูงกว่าขุนและต่ำกว่าพระ
|
วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ข้อคิดที่ได้รับ
๑.พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น
๒. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ
๓.การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแค่เพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่างง่ายดาย
เนื้อเรื่องย่อ
นายประพันธ์ ประยูรสิริ เป็นหนุ่มไทยที่เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาก็เดินทางกลับประเทศไทยโดยทางเรือ ขณะเดิน ที่ทางกลับก็เขียนจดหมายถึงเพื่อนชื่อ นาย ประเสริฐ สุวัฒน์ ที่ยังคงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ เขียนเล่าเรื่องราวเมื่อกลับมาถึงเมืองไทยแล้ว โดยผ่านจดหมาย ๑๘ ฉบับ ด้วยการระบายความรู้สึกที่คิดถึงประเทศอังกฤษและคนรักชาวอังกฤษ
การเดินทางกลับเมืองไทยในครั้งนี้ ประพันธ์ต้องเข้ารับราชการด้วยการฝากเช้าตามเส้นสายซึ่งเข้าไม่ชอบ แต่เขาก็ไม่สามารถหางานทำเองได้ และพ่อได้เตรียมหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ชื่อ แม่กิมเน้ย ซึ่งประพันธ์ไม่ประทับใจ ด้วยเห็นว่าแม่กิมเน้ยหน้าตาเหมือนชุนฮูหยิน สวมเครื่องประดับมากเกินไป ดูพะรุงพะรังราวต้นคริสต์มาส และที่สำคัญประพันธ์ไม่ชอบการแต่งงานแบบคลุมถุงชน
จุดมุ่งหมาย
๑.เพื่อให้รู้ถึงวิถีชีวิตของชายหนุ่มไทย
๒.แสดงให้เห็นวิธีเขียนจดหมายที่ถูกต้อง
๓.สื่อถึงพระราชดำหริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
๔.เข้าใจในความรักของหนุ่มสาวในอดีต
๕.รับรู้การแต่งบทประพันธ์ที่ถูกต้องและถูกต้องตามหลักการ
๖.สื่อการแต่งงานแบบคลุมถุงชนในอดีต
๗.สื่อถึงประเพณีการแต่งงานกับชาวต่างชาติว่าแตกต่างกับคนไทยอย่างไร
ลักษณะคำประพันธ์ หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้ง 18 ฉบับในเรื่อง ดังนี้
๑) หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ 1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 256- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.256- จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ. ไว้
๒) คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง 18 ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
๓) คำลงท้าย จะใช้คำว่า “จากเพื่อน.....” “แต่เพื่อน.....”แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น “แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ 10) มีเพียง 9 ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย
๔) การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ 14 เป็นต้นไป ใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน คือ “บริบาลบรมศักดิ์” โดยตลอด แต่ฉบับที่ 1-13 ใช้ชื่อ “ประพันธ์”
ที่มาของเรื่อง
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต” เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ “ประพันธ์ ประยูรสิริ” เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมของไทยผ่านมุมมองของ“ชายหนุ่ม” (นักเรียนนอก) ในรูปแบบจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ“ประเสริฐ สุวัฒน์” โดยทรงพระราชนิพนธ์ชี้แจงไว้ในคำนำนวนิยายเรื่องนี้
หัวใจชายหนุ่ม
ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่6 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่พระองค์ทรงครองราชย์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครอง การต่างประเทศและโดยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภท เช่น บทละคร บทความ สารคดี นิทาน นิยาย เรื่องสั้น พระบรมราโชวาท พระราชหัตถเลขาและทรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์ พระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และใน พ.ศ.2515 พระองค์ยังได้ทรงรับการประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ทรงเป็น 1 ใน 5 ของนักปราชญ์ไทย
ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่6 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่พระองค์ทรงครองราชย์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครอง การต่างประเทศและโดยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภท เช่น บทละคร บทความ สารคดี นิทาน นิยาย เรื่องสั้น พระบรมราโชวาท พระราชหัตถเลขาและทรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์ พระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และใน พ.ศ.2515 พระองค์ยังได้ทรงรับการประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ทรงเป็น 1 ใน 5 ของนักปราชญ์ไทย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)